UX Practice: ว่าด้วยเรื่องของ Form

6 mins read

Published

19 June, 2020

Language

English

Written by

Share

UX Practice: ว่าด้วยเรื่องของ Form

UX (User Experience) แปลง่าย ๆ ว่า ประสบการณ์ผู้ใช้งาน แต่มันจะต้องมีสื่อกลาง หรือตัวกลาง คือ ผลิตภัณฑ์ (Product), บริการ (Service) หรือระบบ (System) เพื่อให้เกิดประสบการณ์นั้น ๆ แต่การออกแบบอะไรสักอย่างให้คนใช้งานง่ายนั้น ไม่ง่ายอย่างที่คิด และบางครั้งต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลาเพื่อให้ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนพฤติกรรมไปเรื่อย ๆ ซึ่งในบทความนี้จะขอใช้คำว่า User เพื่อสั้นและเร็วต่อการทำความเข้าใจนะครับ 

บทความนี้เราอยากพูดถึงการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับ User ในการกรอก/ใช้ form โดยมีตัวอย่างที่มีให้เห็นบ่อย และตัวอย่างที่ดี (กว่า) มาให้ดูกัน

Phone Number Form Fields

ตัวอย่างแรก แค่ช่องกรอกเบอร์โทรศัพท์ก็สร้างความสับสนให้ผู้ใช้งานได้แล้ว เพราะถ้าเราให้คน 7,500 ล้านคนบนโลกนี้กรอกเบอร์โดยไม่มีการสร้าง format ไว้ ก็อาจจะทำให้ได้ input ที่ไม่ตรงความต้องการนัก และยังทำให้มีโอกาสที่ User จะเลิกกรอก(แบบงง ๆ ) แล้วออกจากแพลตฟอร์มนั้นไปได้เลย 

มีนักออกแบบ และนักพัฒนาพยายามจะแก้ปัญหาการกรอกผิดถูกนี้ ด้วยการทำตัวอย่างลงในแบบฟอร์ม โดยคิดว่าถ้ามีตัวอย่างแล้ว User น่าจะกรอกตามได้ไม่มีปัญหา… แต่ไม่ใช่ทุกคนจะทำตาม และก็ยังเกิดปัญหาเดิมคือ มีคนกรอกผิด ขึ้นข้อความเออเร่อ จนทำให้คนออกจากแพลตฟอร์ม...อีกแล้ว

แก้ยังไงดี?

Auto-formatting จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ครับ User ไม่ต้องกังวลหรือเดาว่าจะต้องใส่แบบไหนถึงจะถูก ระบบจะช่วยใส่วงเล็บ ขีด หรือข้อมูลอื่น(ที่ไม่ใช่เบอร์) ที่ User ลืมกรอกตามฟอร์แมตให้โดยอัตโนมัติ

Birthday forms

ฟอร์มวันเกิด เป็นอีกฟอร์มที่มักสร้างความสับสนไม่มากก็น้อย และก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนเป็นหลักเป็นฐานสักเท่าไหร่ว่าแบบไหนคือมาตรฐาน เราอาจจะเคยเห็นฟอร์มทั้งแบบ DD/MM/YY,  DD/MM/YYYY หรือบางทีมีสลับเดือนให้งงอีก MM/DD/YYYY แต่บางประเทศปีมีหลายรูปแบบ อย่างบ้านเรา มีทั้ง ค.ศ. และ พ.ศ. ก็ต้องทำให้ชัดเจน

อย่าลืมว่า User มักมองข้ามตัวอย่างที่ให้ไว้ (โดยเฉพาะแบบที่ใส่ในช่อง input แล้วพอคลิก ตัวอย่างหายไป) แล้วแบบไหนจึงจะดี (กว่า)?

แบบฟอร์มแต่ละแบบนั้น ถูกสร้างเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกัน อย่างเช่นตัวอย่างข้างล่างนี้ การเลือกข้อมูลแบบ dropdown นั้นเหมาะกับข้อมูลน้อย ๆ หรือฟอร์มที่สามารถใส่ข้อมูลด้วยคีย์บอร์ด พอเอามาใช้กับวัน เกิด User ก็ต้องเลื่อนหาเลขตั้งเเต่ 1 - 31 เดือน 1-12 และปีอีกตั้งเท่าไหร่ไม่รู้ (แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว)

ในมือถือระบบแอนดรอยด์ ดูน่าใช้ สวยงาม แต่ก็ยังสร้างคำถามในการใช้งานว่า ต้องกดอะไรตรงไหน ยิ่งมือถือบางรุ่นจอเล็กก็อาจทำให้มองเห็นตัวเลขยากขึ้นอีก

แก้ยังไงดี?

งานออกแบบที่ดี ไม่จำเป็นต้องซับซ้อน แบบฟอร์มสำหรับ User ก็เช่นกัน เราสามารถแยกช่อง วัน เดือน ปี พร้อมใส่ label เพื่อความชัดเจน ไม่ต้องเดาอีกต่อไป

 

Email confirmation

เหตุผลของการที่หลายคนเจอช่องฟอร์มที่ต้องกรอก 2 รอบเพื่อยืนยันความถูกต้องนั้น...มันก็ไม่ได้ช่วยเสมอไป เพราะ User ก็ยังใส่ข้อมูลผิดได้อยู่ดี มิหนำซ้ำ หลายคนคัดลอกข้อมูลช่องแรกมาใส่ช่องที่สอง เพื่อกันความถูกต้อง และขี้เกียจพิมพ์ใหม่ เป็นการเพิ่มขั้นตอนและเวลาเกินความจำเป็น 

แก้ยังไงดี?

เปลี่ยนจากการต้องใส่ข้อมูลซ้ำ ก็เหลือเพียงช่องเดียวให้กรอก และให้ระบบตรวจสอบฟอร์เเมตของอีเมลแทน ว่า User ใส่ @ หรือยัง ลืมใส่ . (จุด) หรือเปล่า ข้อความเออเร่อก็จะขึ้นเตือน ซึ่งวิธีนี้สามารถใช้ได้กับการยืนยันรหัสผ่านได้ด้วย

Too bleak

จากตัวอย่าง แทบดูไม่ออกเลยว่าเป็น text field ให้ใส่ข้อมูลได้ เพราะมันดูกลืนไปกับพื้นหลังหรือสิ่งแวดล้อม ขนาดการใส่ขอบ (border) ยังแทบไม่ช่วยอะไร เพราะฉะนั้น สิ่งที่ควรปรับปรุงคือ การทำให้กล่องดูเด่นขึ้นมาจากพื้นหลัง และดูคลิกได้จริงด้วยสี และขอบ

Select menus 

Select menus เป็นอีกหนึ่งเมนูที่เป็นที่นิยมในการทำฟอร์ม แต่มันดีขนาดนั้นจริง ๆ รึเปล่า? อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานด้วยว่าเหมาะสมมั้ย แต่ที่แน่ๆ ไม่ควรใช้กับฟอร์มวันเกิด 

นักออกแบบทุกคน อยากให้สิ่งที่พวกเขาออกแบบนั้นตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานเท่าที่จะมากได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า หลายครั้งนักออกแบบคิดมากไปจนทำให้มองข้ามจุดประสงค์หลักคือต้องใช้งานง่ายที่สุด หรือบางกรณีก็คือ...ไม่ได้คิดเลย

ถ้ามีตัวเลือกน้อยกว่า 5 

ง่าย ๆ เลยคือเปลี่ยนจาก select menu มาเป็น radio buttons เอามากางแผ่ให้ดูเลย ลดเวลาที่ต้องกดเข้าไปดูแล้ว scroll เลือก 

ยังมีอีกหลายเรื่องเกี่ยวกับ form ที่เราสามารถปรับปรุงเพื่อประสบการณ์ที่ดีได้ หากใครมีเรื่องดี ๆ สามารถแนะนำเข้ามาได้ เรายินดีมาก ๆ แล้วมาติดตามอ่านบทความดี ๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น Machine Learning, Startup, Design, Software Development และ Management ทางได้ทุกวัน ที่ Senna Labs Blog นะครับ :) 

 

Reference: 

Bad Practices in UI/UX Design That You Should Avoid by Bradley Nice. 

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Keep me posted
to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

More than 120,000 people/day  visit to read our blogs

Beyond the Labs

Explore all

3 July, 2025
UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
หลายคนคงเคยเจอเหตุการต่างๆ บนโลกดิจิทัลที่สามารถนำพาเราไปเสียเงินหรือสมัครใช้บริการได้ง่าย ๆ ทั้งที่ไม่รู้ตัว ลองมาดูกันว่า พวกเขาเหล่านั้น ใช้วิธีหลอกล่อนักชอปอย่างเรากันอย่างไรบ้าง พื้นฐานของคนทั่วไปนั้นไม่อยากที่จะสูญเสียอะไรไป แม้แต่สิ่งที่อาจจะไม่จำเป็น เราอาจจะพบการทำการตลาดในเชิงนี้ได้บ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เราไม่รู้ตัว และอาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อแต่โดนกระตุ้นด้วยข้อมูลที่เรารับมาแบบงง ๆ เช่น Flash sale 40% สินค้าที่มีจำนวนจำกัด นั้นจะน่าสนใจมากกว่าการเดินเจอสินค้าเดียวกันในห้างที่ลดราคา 40% เช่นเดียวกัน ข้อความบนเว็บช็อปปิ้งที่ส่งมาหาคุณว่าสินค้าที่คุณเคยสนใจกำลังลดราคาอยู่ อย่าพลาดโอกาสที่จะซื้อตอนนี้ มักกระตุ้นความต้องการซื้อของเราได้เป็นอย่างดี เพราะเรากลัวที่จะเสียโอกาสดี
03 July, 2025

by

UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
3 July, 2025
ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
แต่ก่อน เวลาที่เว็บไซต์ถูกดีไซน์ด้วยฟอนต์แปลก ๆ หรือมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จะทำให้ผู้ใช้งานบางคนมองไม่เห็น เพราะในเครื่องของผู้ใช้งานไม่มีฟอนต์นั้น ระบบก็จะเลือกเอาฟอนต์อื่นในเครื่องขึ้นมาแสดงผล เห็นเป็นฟอนต์อื่นไป ทำให้ดีไซเนอร์ต้องแก้ปัญหาด้วยการทำรูปแล้วเอามาแปะในเว็บไซต์แทน หรือแม้ว่าจะแสดงผลตามที่ถูกออกแบบมา ความเร็วก็อาจเป็นปัญหาในการโหลดและเข้าถึง เพราะฟอนต์ถูกโหลดจากเซิร์ฟเวอร์แต่สมัยนี้ไม่มีใครใจเย็นพอที่จะรออะไรนานๆ เพราะจากรายงานระบุว่า 40% ของคนที่เข้าเว็บไซต์ จะออกหรือปิดทันทีถ้ามีการโหลดนานกว่า 3 วินาที โดยเฉพาะนักช็อปออนไลน์เกือบครึ่งที่พร้อมจะหันหลังให้อีคอมเมิร์ซเว็บไซต์ที่โหลดช้ากว่า 2 วินาที และ 79% บอกว่ามีโอกาสที่จะไม่ใช้บริการอีกGoogle Fonts คืออะไร? (กันแน่)หลายคนคงรู้จัก Google Fonts แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักให้มากขึ้น
03 July, 2025

by

ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
3 July, 2025
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
S&P Food’s yearly revenues were 435 mils $USD. 10% of the revenue was from online sales. The board of directors felt that online sales should account for more. The digital
03 July, 2025

by

How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!Say hello
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1

Contact Senna Labs at :

hello@sennalabs.com28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599
© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.